Trendy Review: Samsung Galaxy S4
ด้านหลังก็มีกล้องดิจิตอลความละเอียด 13 ล้านพิกเซลพร้อม LED Flash กับลำโพงครับ...ฝาหลังก็ยังเช่นเคย วัสดุเป็นโพลีคาร์บอเนต แต่มีการเคลือบมัน ซึ่งโดยส่วนตัวผมไม่ชอบ เพราะแบบนี้มันเกิดรอยขนแมวได้ง่าย และยังเปื้อนคราบมันจากมือได้ง่ายด้วย...แต่ก็ใช่ล่ะ ถ้าพื้นผิวมันมีลักษณะมันวาว มันจะดูดีกว่า
ด้านบนมีแค่ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. มีรูไมโครโฟนสำหรับฟีเจอร์ Active Noise Cancellation แล้วก็มีพอร์ต Infrared ด้วยครับ
ด้านล่าง เป็นรูไมโครโฟนสำหรับใช้สนทนา แล้วก็มีพอร์ต Micro USB สำหรับใช้เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และชาร์จแบตเตอรี่
ด้านซ้าย เป็นปุ่มปรับระดับเสียง ส่วนด้านขวา ก็เป็นปุ่มเปิดปิดหน้าจอ…ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
ความแปลกของการออกแบบ Android Smartphone รุ่นเรือธงของ Samsung นี่ก็คือ การออกแบบให้สามารถถอดฝาหลังได้ สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ ซึ่งปกติแบรนด์อื่นเขาจะพยายามเลี่ยง เพราะจะได้สามารถออกแบบ Smartphone ที่บางและเบาได้...แต่ Samsung กลับสามารถออกแบบให้ Samsung Galaxy S4 ทั้งบางและเบาได้อย่างไม่น่าเชื่อ แถมยังมีแบตเตอรี่จุถึง 2,600mAh อีกต่างหาก
สเปก Samsung Galaxy S4
ความแตกต่างของ Samsung Galaxy S4 เมื่อเทียบกับ Android Smartphone อื่นๆ ก็คือ ความที่มันเป็น Octa-core เรียกความสนใจได้ในระดับหนึ่ง เพราะจนถึงตอนนี้ ยังไม่มี Android Smartphone ตัวไหน มี CPU ระดับ 8-core เลย แต่ว่าต้องออกตัวก่อนว่า Octa-core ของ Galaxy S4 นี่มันไม่ใช่ 8-core ซะทีเดียวนะครับ แต่มันเป็นสถาปัตยกรรม big.LITTLE ที่เป็น CPU/GPU แบบ Quad-core 2 ชุดครับ สลับกันทำงาน อยู่ที่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ถ้าไม่ต้องการพลังในการประมวลผลมาก ก็จะใช้ชุด LITTLE แต่หากต้องการพลังในการประมวลผลมาก ก็จะใช้ชุด big ครับ ... อ้อ! Galaxy S4 ในต่างประเทศ รุ่นที่รองรับ 4G LTE จะเป็นแค่ Quad-core CPU
• CPU: big.LITTLE Octa-core Exynos 5 5410 (Quad-core Cortex A15 1.6GHz + Quad-core Cortex A7 1.2GHz)
• GPU: PowerVR SGX 544MP3
• Display: Full HD Super AMOLED ขนาด 5 นิ้ว 1920x1080 พิกเซล (441ppi) Gorilla Glass 3
• RAM: 2GB
• Internal Storage: 16GB (ต่างประเทศจะมีรุ่น 32GB ขายด้วย)
• External Storage: รองรับ MicroSD Card สูงสุด 64GB
• Camera: ด้านหน้า 1.9 ล้านพิกเซล ด้านหลัง 13 ล้านพิกเซลพร้อม LED Flash
• Connectivity
o 2G: 850/900/1800/1900MHz
o 3G: 850/900/1900/2100MHz
o WiFi: 802.11a/b/g/n/ac
o Bluetooth: 4.0 + A2DP
• Battery: 2,600mAh
• Dimensions: 136.6 มม. x 69.8 มม. x 7.9 มม.
• Weight: 130 กรัม
ซึ่งสเปกเหล่านี้ก็ให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลออกมาแบบนี้ครับ
ผลการทดสอบประสิทธิภาพค่อนข้างออกมาชัดเจนครับ คือ เมื่อทำงานง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ส่วนที่เป็น Cortex A7 1.2GHz ก็จะทำงาน ผลก็คือ คะแนนที่ได้จะไม่สูงมากนัก พูดง่ายๆ คือ ไม่อาจเทียบกับพวก Android Smartphone ระดับไฮเอนด์ของคู่แข่งได้ แต่ว่าพอเป็นงานหนักๆ อย่างการประมวลผล 3D แล้ว ตัว Cortex A15 1.6GHz ก็จะเข้ามาทำงาน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงมากทีเดียว เลยได้คะแนนออกมาค่อนข้างดี
ฟีเจอร์ต่างๆ ของ Samsung Galaxy S4
ตอน Samsung Galaxy S3 ออกมา ก็ว่ามีฟีเจอร์เยอะแล้ว พอมาเป็น Samsung Galaxy S4 นี่ ยิ่งเยอะเข้าไปใหญ่ครับ มีฟีเจอร์ต่างๆ ให้ลองให้เล่นมากมายทีเดียว ลองมาดูกันคร่าวๆ ว่ามีอะไรบ้าง
• Air gestures เป็นการอาศัยเซ็นเซอร์อยู่บนด้านหน้าของตัวเครื่อง เพื่อดูการเคลื่อนไหวของอะไรก็ตามที่มาผ่านตัวมัน เพื่อสั่งงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
o Quick glance ที่ใช้งานตอนหน้าจอปิดอยู่ เมื่อเอามือไปโบกผ่านเหนือเซ็นเซอร์ มันจะเป็นการแสดงข้อมูลให้ดู ซึ่งหลักๆ มันจะแสดง วันและเวลา แต่เราสามารถตั้งให้แสดงพวกไอคอนแจ้งเตือน, จำนวนสายที่ไม่ได้รับ, จำนวนข้อความที่ยังไม่ได้อ่าน, ระดับแบตเตอรี่ และข้อมูลเพลงที่กำลังเล่นอยู่ได้
o Air jump เป็นการใช้มือ (หรือจริงๆ ใช้แค่นิ้ว) โบกผ่านหน้าเซ็นเซอร์ ก็จะเป็นการ Scroll หน้าจอเวลาดูเว็บ
o Air browse คล้ายๆ Air jump แต่เป็นการใช้ฝ่ามือโบกผ่านหน้าเซ็นเซอร์เพื่อเปลี่ยนรูป, เปลี่ยนหน้าหนังสือที่อ่านอยู่ หรือเปลี่ยนเพลงใหม่
o Air move เป็น Air gesture ที่ใช้อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนหน้า Home screen เวลาที่ต้องการย้ายไอคอนทางลัด หรือเปลี่ยนเดือน เวลาที่ต้องการย้ายตารางนัดหมายใน S Planner
o Air call-accept เป็นการใช้มือโบกผ่านหน้าเซ็นเซอร์เพื่อรับโทรศัพท์
• Air view เป็นฟีเจอร์ที่พัฒนาต่อมาจากของ Samsung Galaxy Note 2 ครับ แต่งวดนี้พัฒนาไปถึงขั้นที่ไม่ต้องใช้ S Pen แล้ว แต่ใช้นิ้วแทนได้เลย ซึ่งมีฟีเจอร์ย่อยๆ ประกอบไปด้วย
o Information preview … คล้ายๆ กับการเอาเคอร์เซอร์ของเมาส์ไปวางไว้เหนือบริเวณที่เราต้องการรายละเอียดเพิ่ม มันก็จะแสดงรายละเอียดของข้อมูลเพิ่มขึ้นมา
o Progress preview … ใชัในโหมดเล่นไฟล์วิดีโอครับ พอเอานิ้วไปจ่อตรง Progress bar (ที่เอาไว้เลื่อนวิดีโอเดินหน้าหรือถอยหลังนั่นแหละ) มันก็จะโชว์ Thumbnail พรีวิววิดีโอตอนนั้นๆ ให้เห็น
o Speed dial preview … แค่เอานิ้วจ่อไว้ตรงแป้นตัวเลขในโหมดโทรศัพท์ ถ้าเรามีการเซตหมายเลขนั้นเป็น Speed dial เอาไว้ เราก็จะได้เห็นว่า เบอร์นั้นเราเซตไว้เป็นโทรหาใคร
o Webpage magnifier … ตามชื่อเลยครับ เมื่อเอานิ้วจ่อไปตรงเนื้อหาของเว็บไซต์ มันก็จะเป็นการขยายเนื้อหาส่วนนั้นให้ดูกันชัดๆ
• Smart screen เป็นฟีเจอร์ที่ใช้กล้องหน้าของ Samsung Galaxy S4 ในการตรวจจับดวงตา หรือใช้ควบคู่กับเซ็นเซอร์อื่นๆ เพื่อสั่งงาน มีฟีเจอร์ย่อยๆ ดังนี้
o Smart rotation … ปกติมันน่ารำคาญนะ เวลาเปิด Screen rotation เอาไว้ เพราะพอเราจะนอนตะแคงใช้เครื่อง หน้าจอมันก็ตะแคงตามซะงั้น แต่ฟีเจอร์นี้มันจะตรวจจับแนวของดวงตาครับ หากเรานอนตะแคงใช้เครื่อง มันจะไม่ทำการตะแคงหน้าจอให้ ก็สะดวกไปอีกแบบ (ฟีเจอร์นี้จะเปิดใช้ได้เฉพาะตอนที่เราเปิดใช้ Screen rotation)
o Smart pause … เมื่อเราไม่มองหน้าจอ วิดีโอที่เล่นอยู่จะหยุดชั่วคราว
o Smart scroll … ตรวจจับมุมของแนวสายตา เมื่อพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไป ก็จะ Scroll หน้าจอขึ้นหรือลง … ฟีเจอร์นี้จะเข้าใจผิดกัน นึกว่ามันจับการกรอกของลูกนัยน์ตาได้ แต่จริงๆ มันไม่ใช่ มันแค่ดูตำแหน่งดวงตา จากนั้นหากตำแหน่งมันเปลี่ยนไป ระบบก็จะคำนวณว่า ตำแหน่งมันขึ้นหรือลง แล้วก็ทำการ Scroll หน้าจอให้
นอกจากนี้ก็ยังมีฟีเจอร์จำพวก Motion และ Gesture อื่นๆ แบบเดิมที่มีใน Samsung Galaxy S3 มาด้วยอีกครบครัน ... โดยสรุปแล้ว มีฟีเจอร์เยอะมาก ให้ลองเล่นกันไม่หวาดไม่ไหวทีเดียวครับ
อย่างไรก็ดี ฟีเจอร์หลายๆ ตัว ไม่ใช่อะไรที่ควรจะเปิดทิ้งเอาไว้ตลอดนะครับ เพราะแม้ว่ามันจะมีประโยชน์อย่างมากในบางสถานการณ์ เช่น กรณีของ Air browse หรือ Air jump ที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปที่จะดู หรือเพลงที่จะฟัง หรือ Scroll ไปตามหน้าเว็บ แต่ว่าในการใช้งานปกติ ฟีเจอร์พวกนี้อาจเข้ามาเกะกะได้ครับ อาจรู้สึกรำคาญได้เลยทีเดียว
App ต่างๆ บน Samsung Galaxy S4
Samsung Galaxy S4 มาพร้อมกับ App เยอะแยะมากมายเช่นเคยครับ มีทั้งบริการเดิมๆ ที่เคยมีอยู่แล้ว กับ App ใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาด้วยครับ
• Samsung Hub ประกอบไปด้วย Hub ต่างๆ ซึ่งเป็นเหมือนแหล่งรวมให้ดาวน์โหลดครับ
o Book อีบุ๊กจำพวก Textbook เป็นภาษาอังกฤษ
o Learning เป็นแหล่งดาวน์โหลดอีบุ๊กจำพวกหนังสือเรียน มีภาษาไทยด้วย
o Video ก็เป็นพวกแหล่งดาวน์โหลดหนังครับ
o Games เป็นแหล่งดาวน์โหลดเกมโดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ Game Hub ของ Samsung นั่นแหละ
• WatchON เป็น App ที่จะแปลง Samsung Galaxy S4 ให้กลายเป็น Universal remote control ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์มัลติมีเดียภายในบ้านได้ เพราะเจ้า Galaxy S4 นี่มันมีพอร์ต Infrared นี่แหละ
• Story Album เป็น App ที่ Samsung พัฒนาต่อเติมมาจาก Gallery ของ Android ครับ คือเก็บภาพในลักษณะของอัลบั้มรูปที่ร้อยเรียงกันเป็นเรื่องราวแทน...สามารถสั่งพิมพ์เป็นรูปเล่มมาได้ด้วยนะ (แต่หากสั่งในไทยก็อาจจะแพงหน่อย เพราะต้องจัดส่งมาจากต่างประเทศ ... เขาว่ายังงั้น ... คงต้องรอดูว่าแล้ว Samsung ประเทศไทยเขาจะมีแผนให้สั่งทำจากในประเทศไทยได้ไหม คงต้องรอดูว่ามีคนพร้อมจะสั่งมากน้อยแค่ไหนด้วยนะ)
• Optical Reader เป็นฟีเจอร์ในการแปลภาษาโดยจับข้อความที่ต้องการจะแปลด้วยกล้องด้านหลัง
• S Translator ก็คือโปรแกรมแปลภาษา หากนึกไม่ออกว่ามันเป็นยังไง ให้นึกถึง Google Translate ครับ
• S Health เป็นโปรแกรมผู้ช่วยในการออกกำลังกายของเรา สามารถเก็บบันทึกจำนวนก้าวที่เราเดิน ปริมาณอาหารที่เราทาน การออกกำลังกายของเรา และอื่นๆ อีกมากมาย และยังใช้คู่กับอุปกรณ์เสริมจาก Samsung ไม่ว่าจะเป็น S Band, เครื่องชั่งน้ำหนัก และเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อเก็บข้อมูลได้อีก (แต่ในประเทศไทย จะมีขายแค่ S Band นะ)
แล้วก็ยังมี App ที่ทาง Samsung ประเทศไทยเรา Localized มาให้สำหรับผู้ใช้งานในประเทศไทยอีก นั่นคือ
• Galaxy BookStore … ก็คือร้านหนังสือออนไลน์ AIS Book Store นั่นแหละครับ
• Galaxy Eat Out … อันนี้ก็คือ Wong Nai เวอร์ชันที่ทำมาเพื่อผู้ใช้งาน Galaxy โดยเฉพาะด้วย
• Galaxy Gift … อันนี้มีให้ผู้ใช้งาน Samsung Galaxy ใช้อยู่แล้ว ปกติต้องดาวน์โหลดจาก Google Play Store แต่งวดนี้ มันมาพร้อมกับ Samsung Galaxy S4 เลย
• Galaxy Kids … อันนี้คือ Samsung Apps ในเวอร์ชั่นสำหรับเด็กครับ เป็นที่รวบรวม App สำหรับเด็กโดยเฉพาะเลย
• Showtime … อันนี้คือ AIS Movie Store ครับผม แต่ก็เป็นเวอร์ชั่นทำมาเฉพาะผู้ใช้งาน Galaxy เช่นกัน
การใช้งานด้านมัลติมีเดียบน Samsung Galaxy S4
ไม่ใช่เรื่องน่าห่วงแต่อย่างใดครับ ว่าจะเล่นไฟล์วิดีโอ 1080p ไม่ได้ … สเปกระดับ Quad-core CPU/GPU เนี่ย ต่อให้ใช้แค่ส่วนที่เป็น LITTLE หรือ Cortex A7 Quad-core 1.2GHz ก็ยังเหลือเฟือเลย แต่ว่าถ้าเป็นไปตามแนวทางของสถาปัตยกรรม big.LITTLE แล้ว ส่วนที่รับผิดชอบในการเล่นไฟล์วิดีโอนี่เป็น Cortex A15 Quad-core 1.6GHz ครับ
ที่ Samsung ทำได้ดี คือการใช้ประสิทธิภาพของ CPU/GPU ได้อย่างเต็มที่ ด้วยการเพิ่มฟีเจอร์ย่อวิดีโอที่เล่นอยู่ไปเป็นจอเล็กๆ แบบ Picture-in-Picture ให้ผู้ใช้งานสามารถทำอะไรต่อมิอะไรไปก็ได้ พร้อมๆ กับดูวิดีโอเรื่องโปรดไปด้วย … แต่จุดที่ Samsung ยังมีโอกาสพัฒนาขึ้นมาได้อีก ก็คือในส่วนของลูกเล่นด้านเสียงครับ เพราะยังไม่มีอะไรเหมือนคู่แข่งอย่าง HTC (ที่มี beats audio) หรือ Sony (ที่มีลูกเล่นให้ปรับเยอะมากมาย)
เรื่องคุณภาพเสียงของ Samsung Galaxy S4 นั้น เสียงที่ได้จากลำโพงของ S4 นั้นน่าประทับใจมาก ตั้งแต่การออกแบบตำแหน่งลำโพงที่รักษาโทนเสียงให้คงลักษณะเดิมแม้จะวางเครื่องหงายลงบนพื้น (ลำโพงชิดพื้นผิว) มีมิติของเสียงที่ดี แสดงรายละเอียดของเสียงได้ครบถ้วน มีความนุ่มนวลแต่หนักแน่น คือฟังดูแข็งแรงแต่ไม่กระด้าง อย่างเช่นพวกเสียงกระเดื่องกลอง เครื่องเคาะ (Percussions) และริฟฟ์กีตาร์ในเพลงร็อก ย่านสูงมีความใส ชัดเจน ไม่แหลมแทงหู ซึ่งผมว่าเป็นจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอุปกรณ์ตระกูล Galaxy อยู่แล้ว แม้ว่าความนุ่มนวลนี้จะทำให้ขาดอรรถรสในการฟังเพลงร็อกหนักๆ ไปบ้าง แต่เราคงไม่คาดหวังความสะใจในบทเพลงร็อกผ่านลำโพงมือถือกันอยู่แล้วนี่เนอะ
ทดสอบเสียงผ่านหูฟัง (ไม่ใช่หูฟังที่แถมมากับตัวเครื่องนะครับ แต่เป็นหูฟังระดับพรีเมียมของตัวเอง) แสดงเสียงได้อย่างมีมิติ ย่านเสียงสูงกลางต่ำแสดงออกมาได้อย่างสมดุล สังเกตว่าเสียงจะถูกปรับแต่งย่านกลางและต่ำมาให้มีความนวลและเต็ม (Full) แต่ก็ชัดและไม่เบลอ อย่างไรก็ตามความนวลนี้เองที่ทำให้อรรถรสของการฟังร็อกหายไปพอสมควร การเร่งระดับเสียงมีการแบ่ง Step ที่ดี และระบบขยายเสียงก็ทำงานได้น่าประทับใจ เมื่อขยายเสียงให้ดังขึ้นโทนเสียงไม่เปลี่ยนแปลงไป ไม่แข็งกระด้าง ไม่ล้นจนแตกพร่าหรือเบลอ
แล้วการเล่นเกมบน Samsung Galaxy S4 ล่ะ?!?
ที่น่าสนใจคือว่า แล้ว Samsung Galaxy S4 นั้นจะทำได้ดีแค่ไหนในการประมวลผลกราฟิก 3D หรือพูดง่ายๆ เล่นเกมนั่นแหละ เพราะคะแนนที่ผมทดสอบด้วยโปรแกรม Benchmark นั้นพบว่าสถาปัตยกรรม big.LITTLE นั้น ทำคะแนนได้ดีในส่วนของการประมวลผล 3D เลยแหละ เลยทำให้ผมคาดหวังเอาไว้เยอะพอสมควร
ลองดูวิดีโอรีวิวด้านล่างนี่ครับ ผมทดสอบด้วยการใช้โปรแกรม 3DMark และ Mobile GPU Mark ให้ดู แล้วก็ลองเล่นเกม Asphalt 7: Heat ด้วย ให้ดูกันจะจะเลยว่า แล้วเวลาเล่นเกม 3D แบบกราฟิกจัดหนักจัดเต็ม Samsung Galaxy S4 ทำได้ดีแค่ไหน
จะเห็นได้ว่า Samsung Galaxy S4 นั้น ทำได้ดีมากทีเดียว สังเกตได้จาก Frame rate ที่สูงเอาเรื่องครับ แม้ว่าจะประมวลผลกราฟิกที่จำนวนโพลิกอนสูงมากๆ ก็ตาม (ดูตอนที่ผมเพิ่มจำนวนซอมบี้เป็น 100 ตัวได้ครับ Frame rate ยังร่วม 30fps อยู่เลย) แต่มันมาพร้อมกับจุดอ่อน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะ Firmware ยังไม่สมบูรณ์ หรือเพราะว่าตัว PowerVR SGX544MP3 มันไม่รองรับเอฟเฟกต์ 3D ของ Engine Yebis 2.0 กันแน่ แต่เมื่อผมลองเปิดใช้เอฟเฟกต์ดังกล่าว การแสดงผลก็ผิดเพี้ยนไปในทันทีครับ … ถ้าเกิดปัญหามาจากตัวฮาร์ดแวร์ไม่รองรับเอฟเฟกต์ล่ะก็ เกิดอนาคตมีเกมที่ใช้ Engine ดังกล่าวมา ก็จะทำให้ Samsung Galaxy S4 นั้นไม่สามารถแสดงผลได้สมบูรณ์ ต้องปิดเอฟเฟกต์ ซึ่งจะทำให้ความสวยงามของกราฟิกลดความสมจริงลงไปเลยแหละ (โดยส่วนตัว ผมมองว่า เอฟเฟกต์จาก Engine ของ Yebis 2.0 นั้น ทำให้กราฟิกสมจริงขึ้นมาก)
ถ่ายรูปและวิดีโอด้วยกล้องของ Samsung Galaxy S4 ดูบ้าง
ก่อนอื่น ต้องบอกว่าฟีเจอร์ของกล้อง Samsung Galaxy S4 นั้น มีเพียบอีกแล้ว คือ ของเดิมมีเยอะแล้ว ของใหม่มีเพิ่มขึ้นมาอีก ได้แก่
• Dual camera ให้คุณถ่ายรูปหรือวิดีโอจากกล้องหน้าและกล้องหลังได้พร้อมๆ กันเลย
• Drama shot ให้คุณถ่ายภาพแบบ Motion โดยถ่ายภาพ 100 รูปใน 4 วินาที แล้วคัดเฉพาะรูปที่ได้จังหวะเหมาะที่สุดมาเรียงร้อยต่อกันเป็นภาพเดียว
• Eraser ที่ใช้ความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่อง เพื่อถ่ายภาพแล้วให้เราสามารถลบเอาคนที่ไม่ต้องการ ที่บังเอิญเดินผ่านเข้ามาในกล้องออกได้
• Animated photo เป็นการใช้ความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่อง เอาภาพเหล่านั้นมาเรียงร้อยกันเป็นภาพเคลื่อนไหว แล้วเอามาให้เราเลือกว่าจะให้เฉพาะส่วนใดของภาพยังคงเคลื่อนไหวอยู่ และส่วนใดของภาพที่จะไม่ให้เคลื่อนไหว
• Sound & Shot ให้เราสามารถอัดเสียงได้ 9 วินาที เพื่อส่งไปพร้อมกับภาพถ่ายได้ (การจะเล่นเสียง ต้องมีโปรแกรมที่รองรับคุณสมบัติดังกล่าวด้วยนะ)
User Interface ของ Camera app ของ Samsung Galaxy S4 นั้น มีการพัฒนาให้คล้ายคลึงกับของ Samsung Galaxy Camera แล้วครับ ดูใช้งานง่ายขึ้น และมีโหมดในการถ่ายภาพให้เลือกมากขึ้น (ก็เป็นฟีเจอร์ต่างๆ ที่ผมพูดถึงไปก่อนหน้านี้แล้ว)
แต่เช่นเคย Samsung Galaxy S4 มีฟีเจอร์ Tap-to-Focus ที่สามารถปรับโฟกัสได้ตามตำแหน่งบนหน้าจอที่แตะลงไป แต่ไม่สามารถปรับ Exposure ของภาพได้ ... ทีนี้มาลองดูบ้างว่าคุณภาพของภาพถ่ายเป็นยังไง
คุณภาพของภาพถ่ายในสภาพแสงดีๆ นี่ OK อยู่ครับ … กล้องของ Samsung ไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้นครับ แต่ในการถ่ายในสภาวะแสงน้อย แบบไม่ต้องน้อยมากหรอกนะ เอาแค่แสงไฟในห้องก็พอแล้ว ผมพบว่าความเร็วชัตเตอร์ตกลงไปเยอะมาก และมีโอกาสสูงที่ภาพจะเบลอ หากถ่ายภาพด้วยมือข้างเดียว
คุณภาพของวิดีโอ 1080p ถือว่าทำได้ดีทีเดียวครับ แม้จะซูมภาพเข้าไปแบบ Digital ก็ยังถือว่าทำได้ดีอยู่ อันนี้อานิสงส์จากการเพิ่มจำนวนพิกเซลเป็น 13 ล้านพิกเซล เพราะภาพที่ 1080p นั้นมันแค่ 1920×1080 พิกเซล การที่จำนวนพิกเซลเยอะ ทำให้ Zoom Digital ได้เนียนขึ้นด้วย ลองดูตัวอย่างคุณภาพของวิดีโอได้ที่นี่ครับ
บทสรุปของการรีวิว Samsung Galaxy S4
ก็ต้องเรียกว่าสมกับเป็น Android Smartphone ระดับไฮเอนด์จากค่าย Samsung ที่น่าสนใจทีเดียวครับ กับสนนราคาเดียวกับตอนที่ Samsung Galaxy S3 เปิดตัว ในขณะที่มีการอัพเกรดฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไปค่อนข้างเยอะ ... สำหรับสาวก Android Smartphone หรือ คนที่ชอบสเปกแรงๆ คงไม่ต้องคิดอะไรมากครับ เปิดตัวปุ๊บก็น่าจะไปซื้อกันเลยทีเดียว แต่สำหรับหลายๆ คน ก็อาจจะยังตะขิดตะขวงใจอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ทำบอดี้ ที่ Samsung ยังคงเลือกเป็นโพลีคาร์บอเนตอยู่ ซึ่งหลายๆ คนมองว่าเป็นพลาสติก ทำให้มีความรู้สึกว่ามันเป็นของราคาถูก (จริงๆ โพลีคาร์บอเนตไม่ใช่วัสดุที่มีราคาถูกนะครับ)
คงเดช กี่สุขพันธ์
E-Mail: kafaak@gmail.com
Twitter: http://www.twitter.com/kafaak
Facebook: http://www.facebook.com/kafaakBlog
Google+: http://bit.ly/kafaakGPlus
Blog: http://www.kafaak.com
หน้าตาของ Samsung Galaxy S4 นั้น แค่ได้มองและลองจับ ก็รู้สึกได้เลยว่ามีความคล้ายกับของ Galaxy S3 อยู่หลายส่วนเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี มันมีความแตกต่างครับ หากเอามาวางเทียบกัน จะรู้ได้เลยว่ามันแตกต่างกัน แต่ถ้าเกิดดูโดดๆ เครื่องเดียวเนี่ย จะรู้สึกว่ามันออกมาแนวเดียวกัน ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไร เพราะทางผู้บริหารของ Samsung เขาบอกว่า เนื่องจากดีไซน์ของ Samsung Galaxy S3 นั้นมันสุดยอด ดังนั้นเมื่อออกสุดยอด Smartphone มาอีกที ก็เลยอาศัยดีไซน์นั้นเป็นพื้นฐานนั่นแหละ ...เขาว่าอย่างนั้น
ด้านหน้าของ Samsung Galaxy S4 เป็นจอ Super AMOLED ขนาด 5 นิ้ว ที่มาพร้อมกับความละเอียดสูงระดับ Full HD 1920x1080 พิกเซล ที่ให้ค่า Pixel density สูงถึง 441ppi เลยทีเดียว และมี Gorilla Glass 3 มาป้องกันหน้าจอด้วย (แต่ผมก็ยังขอยืนยันว่า ติดฟิล์มกันรอยเถอะนะครับ เพราะแม้จะแข็งแกร่งเพียงใด โอกาสที่จะเกิดรอยก็ยังมีอยู่ เพียงแต่จะเกิดยากกว่า)...นอกจากนี้ก็มีกล้องด้านหน้า ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล และมีเซ็นเซอร์ต่างๆ อีกมากมาย
ด้านหน้าของ Samsung Galaxy S4 เป็นจอ Super AMOLED ขนาด 5 นิ้ว ที่มาพร้อมกับความละเอียดสูงระดับ Full HD 1920x1080 พิกเซล ที่ให้ค่า Pixel density สูงถึง 441ppi เลยทีเดียว และมี Gorilla Glass 3 มาป้องกันหน้าจอด้วย (แต่ผมก็ยังขอยืนยันว่า ติดฟิล์มกันรอยเถอะนะครับ เพราะแม้จะแข็งแกร่งเพียงใด โอกาสที่จะเกิดรอยก็ยังมีอยู่ เพียงแต่จะเกิดยากกว่า)...นอกจากนี้ก็มีกล้องด้านหน้า ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล และมีเซ็นเซอร์ต่างๆ อีกมากมาย
ด้านหลังก็มีกล้องดิจิตอลความละเอียด 13 ล้านพิกเซลพร้อม LED Flash กับลำโพงครับ...ฝาหลังก็ยังเช่นเคย วัสดุเป็นโพลีคาร์บอเนต แต่มีการเคลือบมัน ซึ่งโดยส่วนตัวผมไม่ชอบ เพราะแบบนี้มันเกิดรอยขนแมวได้ง่าย และยังเปื้อนคราบมันจากมือได้ง่ายด้วย...แต่ก็ใช่ล่ะ ถ้าพื้นผิวมันมีลักษณะมันวาว มันจะดูดีกว่า
ด้านบนมีแค่ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. มีรูไมโครโฟนสำหรับฟีเจอร์ Active Noise Cancellation แล้วก็มีพอร์ต Infrared ด้วยครับ
ด้านล่าง เป็นรูไมโครโฟนสำหรับใช้สนทนา แล้วก็มีพอร์ต Micro USB สำหรับใช้เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และชาร์จแบตเตอรี่
ด้านซ้าย เป็นปุ่มปรับระดับเสียง ส่วนด้านขวา ก็เป็นปุ่มเปิดปิดหน้าจอ…ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
ความแปลกของการออกแบบ Android Smartphone รุ่นเรือธงของ Samsung นี่ก็คือ การออกแบบให้สามารถถอดฝาหลังได้ สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ ซึ่งปกติแบรนด์อื่นเขาจะพยายามเลี่ยง เพราะจะได้สามารถออกแบบ Smartphone ที่บางและเบาได้...แต่ Samsung กลับสามารถออกแบบให้ Samsung Galaxy S4 ทั้งบางและเบาได้อย่างไม่น่าเชื่อ แถมยังมีแบตเตอรี่จุถึง 2,600mAh อีกต่างหาก
สเปก Samsung Galaxy S4
ความแตกต่างของ Samsung Galaxy S4 เมื่อเทียบกับ Android Smartphone อื่นๆ ก็คือ ความที่มันเป็น Octa-core เรียกความสนใจได้ในระดับหนึ่ง เพราะจนถึงตอนนี้ ยังไม่มี Android Smartphone ตัวไหน มี CPU ระดับ 8-core เลย แต่ว่าต้องออกตัวก่อนว่า Octa-core ของ Galaxy S4 นี่มันไม่ใช่ 8-core ซะทีเดียวนะครับ แต่มันเป็นสถาปัตยกรรม big.LITTLE ที่เป็น CPU/GPU แบบ Quad-core 2 ชุดครับ สลับกันทำงาน อยู่ที่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ถ้าไม่ต้องการพลังในการประมวลผลมาก ก็จะใช้ชุด LITTLE แต่หากต้องการพลังในการประมวลผลมาก ก็จะใช้ชุด big ครับ ... อ้อ! Galaxy S4 ในต่างประเทศ รุ่นที่รองรับ 4G LTE จะเป็นแค่ Quad-core CPU
• CPU: big.LITTLE Octa-core Exynos 5 5410 (Quad-core Cortex A15 1.6GHz + Quad-core Cortex A7 1.2GHz)
• GPU: PowerVR SGX 544MP3
• Display: Full HD Super AMOLED ขนาด 5 นิ้ว 1920x1080 พิกเซล (441ppi) Gorilla Glass 3
• RAM: 2GB
• Internal Storage: 16GB (ต่างประเทศจะมีรุ่น 32GB ขายด้วย)
• External Storage: รองรับ MicroSD Card สูงสุด 64GB
• Camera: ด้านหน้า 1.9 ล้านพิกเซล ด้านหลัง 13 ล้านพิกเซลพร้อม LED Flash
• Connectivity
o 2G: 850/900/1800/1900MHz
o 3G: 850/900/1900/2100MHz
o WiFi: 802.11a/b/g/n/ac
o Bluetooth: 4.0 + A2DP
• Battery: 2,600mAh
• Dimensions: 136.6 มม. x 69.8 มม. x 7.9 มม.
• Weight: 130 กรัม
ซึ่งสเปกเหล่านี้ก็ให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลออกมาแบบนี้ครับ
ผลการทดสอบประสิทธิภาพค่อนข้างออกมาชัดเจนครับ คือ เมื่อทำงานง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ส่วนที่เป็น Cortex A7 1.2GHz ก็จะทำงาน ผลก็คือ คะแนนที่ได้จะไม่สูงมากนัก พูดง่ายๆ คือ ไม่อาจเทียบกับพวก Android Smartphone ระดับไฮเอนด์ของคู่แข่งได้ แต่ว่าพอเป็นงานหนักๆ อย่างการประมวลผล 3D แล้ว ตัว Cortex A15 1.6GHz ก็จะเข้ามาทำงาน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงมากทีเดียว เลยได้คะแนนออกมาค่อนข้างดี
ฟีเจอร์ต่างๆ ของ Samsung Galaxy S4
ตอน Samsung Galaxy S3 ออกมา ก็ว่ามีฟีเจอร์เยอะแล้ว พอมาเป็น Samsung Galaxy S4 นี่ ยิ่งเยอะเข้าไปใหญ่ครับ มีฟีเจอร์ต่างๆ ให้ลองให้เล่นมากมายทีเดียว ลองมาดูกันคร่าวๆ ว่ามีอะไรบ้าง
• Air gestures เป็นการอาศัยเซ็นเซอร์อยู่บนด้านหน้าของตัวเครื่อง เพื่อดูการเคลื่อนไหวของอะไรก็ตามที่มาผ่านตัวมัน เพื่อสั่งงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
o Quick glance ที่ใช้งานตอนหน้าจอปิดอยู่ เมื่อเอามือไปโบกผ่านเหนือเซ็นเซอร์ มันจะเป็นการแสดงข้อมูลให้ดู ซึ่งหลักๆ มันจะแสดง วันและเวลา แต่เราสามารถตั้งให้แสดงพวกไอคอนแจ้งเตือน, จำนวนสายที่ไม่ได้รับ, จำนวนข้อความที่ยังไม่ได้อ่าน, ระดับแบตเตอรี่ และข้อมูลเพลงที่กำลังเล่นอยู่ได้
o Air jump เป็นการใช้มือ (หรือจริงๆ ใช้แค่นิ้ว) โบกผ่านหน้าเซ็นเซอร์ ก็จะเป็นการ Scroll หน้าจอเวลาดูเว็บ
o Air browse คล้ายๆ Air jump แต่เป็นการใช้ฝ่ามือโบกผ่านหน้าเซ็นเซอร์เพื่อเปลี่ยนรูป, เปลี่ยนหน้าหนังสือที่อ่านอยู่ หรือเปลี่ยนเพลงใหม่
o Air move เป็น Air gesture ที่ใช้อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนหน้า Home screen เวลาที่ต้องการย้ายไอคอนทางลัด หรือเปลี่ยนเดือน เวลาที่ต้องการย้ายตารางนัดหมายใน S Planner
o Air call-accept เป็นการใช้มือโบกผ่านหน้าเซ็นเซอร์เพื่อรับโทรศัพท์
• Air view เป็นฟีเจอร์ที่พัฒนาต่อมาจากของ Samsung Galaxy Note 2 ครับ แต่งวดนี้พัฒนาไปถึงขั้นที่ไม่ต้องใช้ S Pen แล้ว แต่ใช้นิ้วแทนได้เลย ซึ่งมีฟีเจอร์ย่อยๆ ประกอบไปด้วย
o Information preview … คล้ายๆ กับการเอาเคอร์เซอร์ของเมาส์ไปวางไว้เหนือบริเวณที่เราต้องการรายละเอียดเพิ่ม มันก็จะแสดงรายละเอียดของข้อมูลเพิ่มขึ้นมา
o Progress preview … ใชัในโหมดเล่นไฟล์วิดีโอครับ พอเอานิ้วไปจ่อตรง Progress bar (ที่เอาไว้เลื่อนวิดีโอเดินหน้าหรือถอยหลังนั่นแหละ) มันก็จะโชว์ Thumbnail พรีวิววิดีโอตอนนั้นๆ ให้เห็น
o Speed dial preview … แค่เอานิ้วจ่อไว้ตรงแป้นตัวเลขในโหมดโทรศัพท์ ถ้าเรามีการเซตหมายเลขนั้นเป็น Speed dial เอาไว้ เราก็จะได้เห็นว่า เบอร์นั้นเราเซตไว้เป็นโทรหาใคร
o Webpage magnifier … ตามชื่อเลยครับ เมื่อเอานิ้วจ่อไปตรงเนื้อหาของเว็บไซต์ มันก็จะเป็นการขยายเนื้อหาส่วนนั้นให้ดูกันชัดๆ
• Smart screen เป็นฟีเจอร์ที่ใช้กล้องหน้าของ Samsung Galaxy S4 ในการตรวจจับดวงตา หรือใช้ควบคู่กับเซ็นเซอร์อื่นๆ เพื่อสั่งงาน มีฟีเจอร์ย่อยๆ ดังนี้
o Smart rotation … ปกติมันน่ารำคาญนะ เวลาเปิด Screen rotation เอาไว้ เพราะพอเราจะนอนตะแคงใช้เครื่อง หน้าจอมันก็ตะแคงตามซะงั้น แต่ฟีเจอร์นี้มันจะตรวจจับแนวของดวงตาครับ หากเรานอนตะแคงใช้เครื่อง มันจะไม่ทำการตะแคงหน้าจอให้ ก็สะดวกไปอีกแบบ (ฟีเจอร์นี้จะเปิดใช้ได้เฉพาะตอนที่เราเปิดใช้ Screen rotation)
o Smart pause … เมื่อเราไม่มองหน้าจอ วิดีโอที่เล่นอยู่จะหยุดชั่วคราว
o Smart scroll … ตรวจจับมุมของแนวสายตา เมื่อพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไป ก็จะ Scroll หน้าจอขึ้นหรือลง … ฟีเจอร์นี้จะเข้าใจผิดกัน นึกว่ามันจับการกรอกของลูกนัยน์ตาได้ แต่จริงๆ มันไม่ใช่ มันแค่ดูตำแหน่งดวงตา จากนั้นหากตำแหน่งมันเปลี่ยนไป ระบบก็จะคำนวณว่า ตำแหน่งมันขึ้นหรือลง แล้วก็ทำการ Scroll หน้าจอให้
นอกจากนี้ก็ยังมีฟีเจอร์จำพวก Motion และ Gesture อื่นๆ แบบเดิมที่มีใน Samsung Galaxy S3 มาด้วยอีกครบครัน ... โดยสรุปแล้ว มีฟีเจอร์เยอะมาก ให้ลองเล่นกันไม่หวาดไม่ไหวทีเดียวครับ
อย่างไรก็ดี ฟีเจอร์หลายๆ ตัว ไม่ใช่อะไรที่ควรจะเปิดทิ้งเอาไว้ตลอดนะครับ เพราะแม้ว่ามันจะมีประโยชน์อย่างมากในบางสถานการณ์ เช่น กรณีของ Air browse หรือ Air jump ที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปที่จะดู หรือเพลงที่จะฟัง หรือ Scroll ไปตามหน้าเว็บ แต่ว่าในการใช้งานปกติ ฟีเจอร์พวกนี้อาจเข้ามาเกะกะได้ครับ อาจรู้สึกรำคาญได้เลยทีเดียว
App ต่างๆ บน Samsung Galaxy S4
Samsung Galaxy S4 มาพร้อมกับ App เยอะแยะมากมายเช่นเคยครับ มีทั้งบริการเดิมๆ ที่เคยมีอยู่แล้ว กับ App ใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาด้วยครับ
• Samsung Hub ประกอบไปด้วย Hub ต่างๆ ซึ่งเป็นเหมือนแหล่งรวมให้ดาวน์โหลดครับ
o Book อีบุ๊กจำพวก Textbook เป็นภาษาอังกฤษ
o Learning เป็นแหล่งดาวน์โหลดอีบุ๊กจำพวกหนังสือเรียน มีภาษาไทยด้วย
o Video ก็เป็นพวกแหล่งดาวน์โหลดหนังครับ
o Games เป็นแหล่งดาวน์โหลดเกมโดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ Game Hub ของ Samsung นั่นแหละ
• WatchON เป็น App ที่จะแปลง Samsung Galaxy S4 ให้กลายเป็น Universal remote control ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์มัลติมีเดียภายในบ้านได้ เพราะเจ้า Galaxy S4 นี่มันมีพอร์ต Infrared นี่แหละ
• Story Album เป็น App ที่ Samsung พัฒนาต่อเติมมาจาก Gallery ของ Android ครับ คือเก็บภาพในลักษณะของอัลบั้มรูปที่ร้อยเรียงกันเป็นเรื่องราวแทน...สามารถสั่งพิมพ์เป็นรูปเล่มมาได้ด้วยนะ (แต่หากสั่งในไทยก็อาจจะแพงหน่อย เพราะต้องจัดส่งมาจากต่างประเทศ ... เขาว่ายังงั้น ... คงต้องรอดูว่าแล้ว Samsung ประเทศไทยเขาจะมีแผนให้สั่งทำจากในประเทศไทยได้ไหม คงต้องรอดูว่ามีคนพร้อมจะสั่งมากน้อยแค่ไหนด้วยนะ)
• Optical Reader เป็นฟีเจอร์ในการแปลภาษาโดยจับข้อความที่ต้องการจะแปลด้วยกล้องด้านหลัง
• S Translator ก็คือโปรแกรมแปลภาษา หากนึกไม่ออกว่ามันเป็นยังไง ให้นึกถึง Google Translate ครับ
• S Health เป็นโปรแกรมผู้ช่วยในการออกกำลังกายของเรา สามารถเก็บบันทึกจำนวนก้าวที่เราเดิน ปริมาณอาหารที่เราทาน การออกกำลังกายของเรา และอื่นๆ อีกมากมาย และยังใช้คู่กับอุปกรณ์เสริมจาก Samsung ไม่ว่าจะเป็น S Band, เครื่องชั่งน้ำหนัก และเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อเก็บข้อมูลได้อีก (แต่ในประเทศไทย จะมีขายแค่ S Band นะ)
แล้วก็ยังมี App ที่ทาง Samsung ประเทศไทยเรา Localized มาให้สำหรับผู้ใช้งานในประเทศไทยอีก นั่นคือ
• Galaxy BookStore … ก็คือร้านหนังสือออนไลน์ AIS Book Store นั่นแหละครับ
• Galaxy Eat Out … อันนี้ก็คือ Wong Nai เวอร์ชันที่ทำมาเพื่อผู้ใช้งาน Galaxy โดยเฉพาะด้วย
• Galaxy Gift … อันนี้มีให้ผู้ใช้งาน Samsung Galaxy ใช้อยู่แล้ว ปกติต้องดาวน์โหลดจาก Google Play Store แต่งวดนี้ มันมาพร้อมกับ Samsung Galaxy S4 เลย
• Galaxy Kids … อันนี้คือ Samsung Apps ในเวอร์ชั่นสำหรับเด็กครับ เป็นที่รวบรวม App สำหรับเด็กโดยเฉพาะเลย
• Showtime … อันนี้คือ AIS Movie Store ครับผม แต่ก็เป็นเวอร์ชั่นทำมาเฉพาะผู้ใช้งาน Galaxy เช่นกัน
การใช้งานด้านมัลติมีเดียบน Samsung Galaxy S4
ไม่ใช่เรื่องน่าห่วงแต่อย่างใดครับ ว่าจะเล่นไฟล์วิดีโอ 1080p ไม่ได้ … สเปกระดับ Quad-core CPU/GPU เนี่ย ต่อให้ใช้แค่ส่วนที่เป็น LITTLE หรือ Cortex A7 Quad-core 1.2GHz ก็ยังเหลือเฟือเลย แต่ว่าถ้าเป็นไปตามแนวทางของสถาปัตยกรรม big.LITTLE แล้ว ส่วนที่รับผิดชอบในการเล่นไฟล์วิดีโอนี่เป็น Cortex A15 Quad-core 1.6GHz ครับ
ที่ Samsung ทำได้ดี คือการใช้ประสิทธิภาพของ CPU/GPU ได้อย่างเต็มที่ ด้วยการเพิ่มฟีเจอร์ย่อวิดีโอที่เล่นอยู่ไปเป็นจอเล็กๆ แบบ Picture-in-Picture ให้ผู้ใช้งานสามารถทำอะไรต่อมิอะไรไปก็ได้ พร้อมๆ กับดูวิดีโอเรื่องโปรดไปด้วย … แต่จุดที่ Samsung ยังมีโอกาสพัฒนาขึ้นมาได้อีก ก็คือในส่วนของลูกเล่นด้านเสียงครับ เพราะยังไม่มีอะไรเหมือนคู่แข่งอย่าง HTC (ที่มี beats audio) หรือ Sony (ที่มีลูกเล่นให้ปรับเยอะมากมาย)
เรื่องคุณภาพเสียงของ Samsung Galaxy S4 นั้น เสียงที่ได้จากลำโพงของ S4 นั้นน่าประทับใจมาก ตั้งแต่การออกแบบตำแหน่งลำโพงที่รักษาโทนเสียงให้คงลักษณะเดิมแม้จะวางเครื่องหงายลงบนพื้น (ลำโพงชิดพื้นผิว) มีมิติของเสียงที่ดี แสดงรายละเอียดของเสียงได้ครบถ้วน มีความนุ่มนวลแต่หนักแน่น คือฟังดูแข็งแรงแต่ไม่กระด้าง อย่างเช่นพวกเสียงกระเดื่องกลอง เครื่องเคาะ (Percussions) และริฟฟ์กีตาร์ในเพลงร็อก ย่านสูงมีความใส ชัดเจน ไม่แหลมแทงหู ซึ่งผมว่าเป็นจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอุปกรณ์ตระกูล Galaxy อยู่แล้ว แม้ว่าความนุ่มนวลนี้จะทำให้ขาดอรรถรสในการฟังเพลงร็อกหนักๆ ไปบ้าง แต่เราคงไม่คาดหวังความสะใจในบทเพลงร็อกผ่านลำโพงมือถือกันอยู่แล้วนี่เนอะ
ทดสอบเสียงผ่านหูฟัง (ไม่ใช่หูฟังที่แถมมากับตัวเครื่องนะครับ แต่เป็นหูฟังระดับพรีเมียมของตัวเอง) แสดงเสียงได้อย่างมีมิติ ย่านเสียงสูงกลางต่ำแสดงออกมาได้อย่างสมดุล สังเกตว่าเสียงจะถูกปรับแต่งย่านกลางและต่ำมาให้มีความนวลและเต็ม (Full) แต่ก็ชัดและไม่เบลอ อย่างไรก็ตามความนวลนี้เองที่ทำให้อรรถรสของการฟังร็อกหายไปพอสมควร การเร่งระดับเสียงมีการแบ่ง Step ที่ดี และระบบขยายเสียงก็ทำงานได้น่าประทับใจ เมื่อขยายเสียงให้ดังขึ้นโทนเสียงไม่เปลี่ยนแปลงไป ไม่แข็งกระด้าง ไม่ล้นจนแตกพร่าหรือเบลอ
แล้วการเล่นเกมบน Samsung Galaxy S4 ล่ะ?!?
ที่น่าสนใจคือว่า แล้ว Samsung Galaxy S4 นั้นจะทำได้ดีแค่ไหนในการประมวลผลกราฟิก 3D หรือพูดง่ายๆ เล่นเกมนั่นแหละ เพราะคะแนนที่ผมทดสอบด้วยโปรแกรม Benchmark นั้นพบว่าสถาปัตยกรรม big.LITTLE นั้น ทำคะแนนได้ดีในส่วนของการประมวลผล 3D เลยแหละ เลยทำให้ผมคาดหวังเอาไว้เยอะพอสมควร
ลองดูวิดีโอรีวิวด้านล่างนี่ครับ ผมทดสอบด้วยการใช้โปรแกรม 3DMark และ Mobile GPU Mark ให้ดู แล้วก็ลองเล่นเกม Asphalt 7: Heat ด้วย ให้ดูกันจะจะเลยว่า แล้วเวลาเล่นเกม 3D แบบกราฟิกจัดหนักจัดเต็ม Samsung Galaxy S4 ทำได้ดีแค่ไหน
จะเห็นได้ว่า Samsung Galaxy S4 นั้น ทำได้ดีมากทีเดียว สังเกตได้จาก Frame rate ที่สูงเอาเรื่องครับ แม้ว่าจะประมวลผลกราฟิกที่จำนวนโพลิกอนสูงมากๆ ก็ตาม (ดูตอนที่ผมเพิ่มจำนวนซอมบี้เป็น 100 ตัวได้ครับ Frame rate ยังร่วม 30fps อยู่เลย) แต่มันมาพร้อมกับจุดอ่อน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะ Firmware ยังไม่สมบูรณ์ หรือเพราะว่าตัว PowerVR SGX544MP3 มันไม่รองรับเอฟเฟกต์ 3D ของ Engine Yebis 2.0 กันแน่ แต่เมื่อผมลองเปิดใช้เอฟเฟกต์ดังกล่าว การแสดงผลก็ผิดเพี้ยนไปในทันทีครับ … ถ้าเกิดปัญหามาจากตัวฮาร์ดแวร์ไม่รองรับเอฟเฟกต์ล่ะก็ เกิดอนาคตมีเกมที่ใช้ Engine ดังกล่าวมา ก็จะทำให้ Samsung Galaxy S4 นั้นไม่สามารถแสดงผลได้สมบูรณ์ ต้องปิดเอฟเฟกต์ ซึ่งจะทำให้ความสวยงามของกราฟิกลดความสมจริงลงไปเลยแหละ (โดยส่วนตัว ผมมองว่า เอฟเฟกต์จาก Engine ของ Yebis 2.0 นั้น ทำให้กราฟิกสมจริงขึ้นมาก)
ถ่ายรูปและวิดีโอด้วยกล้องของ Samsung Galaxy S4 ดูบ้าง
ก่อนอื่น ต้องบอกว่าฟีเจอร์ของกล้อง Samsung Galaxy S4 นั้น มีเพียบอีกแล้ว คือ ของเดิมมีเยอะแล้ว ของใหม่มีเพิ่มขึ้นมาอีก ได้แก่
• Dual camera ให้คุณถ่ายรูปหรือวิดีโอจากกล้องหน้าและกล้องหลังได้พร้อมๆ กันเลย
• Drama shot ให้คุณถ่ายภาพแบบ Motion โดยถ่ายภาพ 100 รูปใน 4 วินาที แล้วคัดเฉพาะรูปที่ได้จังหวะเหมาะที่สุดมาเรียงร้อยต่อกันเป็นภาพเดียว
• Eraser ที่ใช้ความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่อง เพื่อถ่ายภาพแล้วให้เราสามารถลบเอาคนที่ไม่ต้องการ ที่บังเอิญเดินผ่านเข้ามาในกล้องออกได้
• Animated photo เป็นการใช้ความสามารถในการถ่ายภาพต่อเนื่อง เอาภาพเหล่านั้นมาเรียงร้อยกันเป็นภาพเคลื่อนไหว แล้วเอามาให้เราเลือกว่าจะให้เฉพาะส่วนใดของภาพยังคงเคลื่อนไหวอยู่ และส่วนใดของภาพที่จะไม่ให้เคลื่อนไหว
• Sound & Shot ให้เราสามารถอัดเสียงได้ 9 วินาที เพื่อส่งไปพร้อมกับภาพถ่ายได้ (การจะเล่นเสียง ต้องมีโปรแกรมที่รองรับคุณสมบัติดังกล่าวด้วยนะ)
User Interface ของ Camera app ของ Samsung Galaxy S4 นั้น มีการพัฒนาให้คล้ายคลึงกับของ Samsung Galaxy Camera แล้วครับ ดูใช้งานง่ายขึ้น และมีโหมดในการถ่ายภาพให้เลือกมากขึ้น (ก็เป็นฟีเจอร์ต่างๆ ที่ผมพูดถึงไปก่อนหน้านี้แล้ว)
แต่เช่นเคย Samsung Galaxy S4 มีฟีเจอร์ Tap-to-Focus ที่สามารถปรับโฟกัสได้ตามตำแหน่งบนหน้าจอที่แตะลงไป แต่ไม่สามารถปรับ Exposure ของภาพได้ ... ทีนี้มาลองดูบ้างว่าคุณภาพของภาพถ่ายเป็นยังไง
คุณภาพของภาพถ่ายในสภาพแสงดีๆ นี่ OK อยู่ครับ … กล้องของ Samsung ไม่ได้เลวร้ายขนาดนั้นครับ แต่ในการถ่ายในสภาวะแสงน้อย แบบไม่ต้องน้อยมากหรอกนะ เอาแค่แสงไฟในห้องก็พอแล้ว ผมพบว่าความเร็วชัตเตอร์ตกลงไปเยอะมาก และมีโอกาสสูงที่ภาพจะเบลอ หากถ่ายภาพด้วยมือข้างเดียว
คุณภาพของวิดีโอ 1080p ถือว่าทำได้ดีทีเดียวครับ แม้จะซูมภาพเข้าไปแบบ Digital ก็ยังถือว่าทำได้ดีอยู่ อันนี้อานิสงส์จากการเพิ่มจำนวนพิกเซลเป็น 13 ล้านพิกเซล เพราะภาพที่ 1080p นั้นมันแค่ 1920×1080 พิกเซล การที่จำนวนพิกเซลเยอะ ทำให้ Zoom Digital ได้เนียนขึ้นด้วย ลองดูตัวอย่างคุณภาพของวิดีโอได้ที่นี่ครับ
บทสรุปของการรีวิว Samsung Galaxy S4
ก็ต้องเรียกว่าสมกับเป็น Android Smartphone ระดับไฮเอนด์จากค่าย Samsung ที่น่าสนใจทีเดียวครับ กับสนนราคาเดียวกับตอนที่ Samsung Galaxy S3 เปิดตัว ในขณะที่มีการอัพเกรดฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไปค่อนข้างเยอะ ... สำหรับสาวก Android Smartphone หรือ คนที่ชอบสเปกแรงๆ คงไม่ต้องคิดอะไรมากครับ เปิดตัวปุ๊บก็น่าจะไปซื้อกันเลยทีเดียว แต่สำหรับหลายๆ คน ก็อาจจะยังตะขิดตะขวงใจอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ทำบอดี้ ที่ Samsung ยังคงเลือกเป็นโพลีคาร์บอเนตอยู่ ซึ่งหลายๆ คนมองว่าเป็นพลาสติก ทำให้มีความรู้สึกว่ามันเป็นของราคาถูก (จริงๆ โพลีคาร์บอเนตไม่ใช่วัสดุที่มีราคาถูกนะครับ)
คงเดช กี่สุขพันธ์
E-Mail: kafaak@gmail.com
Twitter: http://www.twitter.com/kafaak
Facebook: http://www.facebook.com/kafaakBlog
Google+: http://bit.ly/kafaakGPlus
Blog: http://www.kafaak.com
Sign up here with your email